|
 โครงการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับรางวัลเกียรติคุณผู้ประกอบอาชีพดีเด่น
วัตถุประสงค์
1. ยกย่องบุคคลดีเด่นในนามสโมสรโรตารีทุ่งคา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพต่อไป
2. เป็นแบบอย่างให้กับสังคมเพื่อให้เห็นถึงความดีงามของการประกอบอาชีพที่มีจรรยาบรรณ
และจริยธรรม
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เดือน ( มกราคม 2548 - กุมภาพันธ์ 2548
)
งบประมาณ 1,000 บาท จากงบดำเนินกิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
1 |
นย.นพ.สงวน |
คุณาพร |
นายกสโมสร |
2 |
รทร.วิสิฐ |
ตันติวิวัฒนพงศา |
ประธานบริการอาชีพ |
3 |
อน.ชัยศักดิ์ |
โกยสมบูรณ์ |
ประธานเฉลิมฉลอง 100 ปีโรตารี |
4 |
อน.นาวี |
ถิ่นสาคู |
อดีตนายกเพิ่งผ่านพ้น |
การดำเนินงาน
1. ประธานฝ่ายบริการอาชีพ และอนุกรรมการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมจะได้รับการยกย่อง
ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาคัดเลือก
2. คณะกรรมการบริหารคัดเลือกเพียง 1 บุคคล และนำเสนอในที่ประชุมสมาชิกเห็นชอบ
3. ประกาศชื่อบุคคลดีเด่นในงานสถาปนาคณะกรรมการบริหารสโมสร ปี 2548-2549
ในเดือนกรกฎาคม 2548
4. บุคคลดีเด่นที่ได้รับคัดเลือก คือ ผศ.ปราณี สกุลพิพัฒน์
ความสัมฤทธิ์ผลของโครงการ
สมาชิกได้มีความภูมิใจในการยกย่องบุคคลที่เหมาะสมในชุมชน และวงการอาชีพของบุคคลดีเด่นก็ได้รับการยกย่องพร้อมบุคคลนั้นด้วย
แบบฟอร์มการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับรางวัลเกียรติคุณผู้ประกอบอาชีพดีเด่น
สโมสร |
โรตารี่ทุ่งคา |
ขอเสนอชื่อบุคคล |
เพื่อขอรับรางวัลเกียรติคุณผู้ประกอบอาชีพดีเด่นดังนี้ |
ชื่อ-นามสกุล |
นางปราณี สกุลพิพัฒน์ |
ที่อยู่ |
๒๕๙ ถนนถลาง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๐๐๐ |
โทรศัพท์ |
๐๑๖๙๓๓๕๗๖ โทรสาร ๐๗๖๒๑๒๗๗๓ |
อีเมล |
pranee81@yahoo.com |
การศึกษา |
การศึกษาบัณฑิต |
อาชีพ |
รับราชการ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ
๘ อาจารย์ประจำโปรแกรมภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
สถานที่ทำงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต |
ตำแหน่งในองค์กรอื่น |
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิทยาสาธิต
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา
คณะกรรมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โรงเรียนภูเก็ตไทหัว
ที่ปรึกษาเครือข่ายการรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม เขตพื้นที่
สำนักงานศิลปากรที่ ๑๕ |
กิจกรรมเพื่อสังคม |
ให้ความช่วยเหลือเกื้อหนุนส่งเสริมให้ชุมชนชาวภูเก็ต
ได้ ตระหนักในคุณค่าในวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาของ ตนเอง
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมผสมผสานทั้งในและจีน ที่สืบทอดกัน มาคู่กับประวัติเมืองภูเก็ต
การถ่ายทอดและส่งเสริมได้กระทำใน หลายรูปแบบ อาทิ
สื่อสิ่งพิมพ์ เขียนเรื่องวัฒนธรรมที่ควรสืบทอดในท้องถิ่นภูเก็ต
ในวารสารชื่อ ปะการัง และวารสารภูเก็ตบลูเลทิน (บทความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
รวมทั้งหนังสือพิมพ์ ภูเก็ตโพสท์
รายการวิทยุ รายการวิทยุชุมชนทางสถานี อ.ส.ม.ท.
คลื่นเอฟเอ็ม ๑๐๑.๕ ทุกวันเสาร์เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. จัดติดต่อกัน
๔ ปี เป็นผู้ร่วมรายการวิทยุทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต
ภาคค่ำตั้งแต่ ๒๑.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.
เป็นแขกรับเชิญในรายการสถานีวิทยุฝรั่งเศส France Info เรื่อง
ความเชื่อเรื่องผีของคนไทยในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๘ รายการโทรทัศน์ของประเทศอิตาลี
เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภูเก็ต ในวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๘ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์อาซาฮีชินบุน
ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่นเรื่องชาวเลในภูเก็ต
ในวันเดียวกันนี้ได้ให้สัมภาษณ์รายการทีวีของสำนักข่าวรอยเตอร์
เรื่องพิธีศาสนาพุทธของชาวภูเก็ตในช่วงเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ
สื่อทีวีท้องถิ่น เป็นแขกรับเชิญในรายการทีวีอันดามันทอล์ค,
มอร์นิ่งทอล์ค, และไทย-ออสทอล์ค ซึ่งเป็นรายการภาคภาษาอังกฤษ
ออกอากาศทั่วประเทศ เรื่องประเพณี และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภูเก็ต
ให้สัมภาษณ์ เรื่องประเพณีกินผักทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง
๕ และ IBC เป็นให้การบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต ถ่ายทอดสดจากศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
เป็นแขกในรายการโทรทัศน์ทางสถานีช่อง ๙ อ.ส.ม.ท. ของคุณจักรภพ
เพ็ญแข รายการอรุนรุ่งที่เมืองไทย แนะนำเรื่องสถาปัตยกรรมเมืองภูเก็ต
เป็นวิทยากรรับเชิญ สโมสรโรตารีภูเก็ต โรตารี่อันดามัน
โรตารีทุ่งคา โรตารี่จังซีลอน และโรตารีป่าตอง และสโมสรไลออนส์ภูเก็ตเพิร์ล
เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาภูเก็ตที่ควรรักษา นอกจากนี้
ได้ให้การบรรยายและอบรมพนักงานโรงแรมต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
พังงา และสมุย เช่น โรงแรมในเครือลากูน่าภูเก็ต โรงแรมภูเก็ตยอร์ชคลับ,
โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน, โรงแรมคลับอันดามัน, โรงแรมเลอร์รอยัลเมอร์ริเดียนบ้านตลิ่งงาม
ครั้งล่าสุดให้บรรยายเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจหลังภัยพิบัติสึกนามิให้กับพนักงานโรงแรมแอ๊บโซลูท
ซีเพิร์ล บีชรีสอร์ท ป่าตอง โดยไม่คิดค่าตอบแทน
เป็นพิธีกรในงานสำคัญของจังหวัดภูเก็ต ครั้งล่าสุดเป็นพิธีกรในงาน
Light Up Patong ในงานจุดเทียนแสนดวงเพื่อระลึกถึงการจากไปของผู้ประสบภัยสึกนามิ
ณ ชายหาดป่าตอง ซึ่งผู้เข้าร่วมงานเป็นแขกผู้มีเกียรติตัวแทนทูตานุทูตด้านการ
ท่องเที่ยวจาก ๔๑ ประเทศทั่วโลก (World Travel Organzation)
จัดการอบรมให้กับเยาวชน ได้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมไทยทั้งระดับประถมศึกษาปีที่
๖ (กลุ่มละ ๓ วัน ปีละ ๓ รุ่น) ติดต่อกันเป็นเวลา ๔ ปี
จัดค่ายสติ ทักษะ เพื่อชีวิต ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ปีละ ๑ รุ่นติดต่อกัน ๔ ปี
จัดกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นปู่ย่า ตายาย สู่รุ่นหลาน
ให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ให้สามารถทำงานศิลปะเช่น การประดิษฐ์ดอกไม้ดิ้นเงินดิ้นทอง
ตกแต่งเรือนผม การร้องเพลงกล่อมเด็กเป็นภาษาท้องถิ่น เป็นต้น
จัดกิจกรรมปลอบขวัญผู้อาวุโส เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน
ทั้งนี้กิจกรรมครั้งล่าสุดคือ การประชุมสัมมนาเรื่องตระกูลแซ่ในจังหวัดภูเก็ต
และการเสาวนาคณะกรรมการและพี่เลี้ยงม้าทรงในศาลเจ้ากินผักของจังหวัดภูเก็ต
ทั้งนี้ หนังสือทั้งสองเล่ม อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์
ด้วยความตระหนักในความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนจึงได้เป็นผู้ริเริ่มเชิญชวนให้ชาวภูเก็ตเข้าร่วมประชุมงาน
Peranakan (ชาวบาบ่า) ในกลุ่มประเทศมาเลเซีย (ปีนัง, มะละกา)
และประเทศสิงค์โปร ผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คือ ภูเก็ตจะได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในปี
๒๕๔๙
ทั้งนี้ ผลงานที่มีความภาคภูมิใจมากที่สุดคือ การจัดทำพิพิธภัณฑ์
ณ ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ซึ่งได้รับคำนิยม อย่างยิ่งจากผู้มาเยือนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๔๒ ถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
รางวัลที่เคยได้รับ |
ได้รับคำชื่นชมยินดีในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ จากสื่อมวลชน
และองค์กรต่าง ๆ |
ภาคผนวก
บทความและหนังสือที่ได้เผยแพร่ในวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
๑) รายงานผลการสัมมนาประวัติศาสตร์ครั้งที่ ๒ “ประวัติท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
๒) งานเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง Hokkien in Phuket
๓) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ่านสื่อนิตยสารภูเก็ตบูลเลทิน และนิตยสารปะการัง ซึ่งเป็นนิตยสารท้องถิ่นภูเก็ตที่เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับภูเก็ตภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(อยู่ในภาคผนวกจำนวน ๑๐๒ เรื่อง)
๔) เป็นผู้รวบรวมประวัติ และรวมถึงเป็นผู้ประสานในการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกงานศพบุคคลผู้อาวุโสในท้องถิ่นหลายท่าน
อาทิงานศพคุณพ่อของสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดภูเก็ตคุณพ่อเจร อุปัติฤงค์
๕) เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำผลงานวิชาการ ผลงานประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับนิตยสารและตำราต่าง ๆ
๖) เป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัยขององค์กร หน่วยงาน บุคคลต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต
ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นภูเก็ต
๗) ดำเนินงานวิจัย จำนวน ๒ เรื่อง คือ
๑. ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา
: กรณีศึกษาวัดมงคลนิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
๒. ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความพร้อมและความสามารถในการจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของเยาวชน”
จังหวัดภูเก็ต
๘) หนังสือประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา ชื่อ Let’s
Learn English for Marketing Using News and Advertising ตีพิมพ์เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งได้รับคำนิยมอย่างยิ่งจากหนังสือพิมพ์มติชน ว่า “พบเพชรราชภัฏภูเก็ตที่ราชภัฏเลย”
โครงการเพิ่มทักษะด้านภาษาให้กับพนักงานโรงแรม
หลังประสบภัยคลื่นยักษ์ TSUNAMI ถล่มภาคใต้
วัตถุประสงค์
1. ใช้โอกาสที่โรงแรมหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตต้องหยุดกิจการ พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศให้กับพนักงานที่ต้องหยุดงานปกติ
เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงที่โรงแรมเปิด กิจการในอนาคต
2. ส่งเสริมให้พนักงานมีทักษะภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อง่ายต่อการบริการ
และ ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ
3. แสดงถึงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของโรตารีให้กับชุมชนในขณะเกิดวิกฤต
เป็นการตอบแทนชุมชนที่เคยอุปถัมภ์สโมสรโรตารีทุ่งคามาก่อนในช่วงปกติ
ระยะเวลาทำโครงการ 2 เดือน ( 7 กุมภาพันธ์ 2548 – มีนาคม 2548
)
งบประมาณ 78,000 บาท จากงบดำเนินกิจกรรมของสโมสร
ผู้รับผิดชอบ
1 |
นย.นพ.สงวน |
คุณาพร |
นายกสโมสร |
2 |
รทร.วิสิฐ |
ตันติวิวัฒนพงศา |
ประธานบริการอาชีพ |
3 |
อน.สมบูรณ์ |
จิรายุส |
ที่ปรึกษา |
4 |
อน.พงศ์อนันต์ |
สุวัณณาคาร |
ที่ปรึกษา |
การดำเนินงาน
1. สำรวจความต้องการของพนักงาน และโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ
( โรงแรมบ้านไทยบีชรีสอร์ท , โรงแรมป่าตองเมอร์ลิน , โรงแรมเมอร์ลินบีช
) มีพนักงานจำนวน 60 คน เป็นเป้าหมาย โดยทั่วไปสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่งแล้ว
แต่ภาษาเยอรมัน และญี่ปุ่นเป็นภาษาที่พนักงานยังขาดทักษะในการติดต่อ
สื่อสารกับนักท่องเที่ยว
2. จัดหาครูสอนภาษาดังกล่าว โดยจัดแบ่งชั้นเรียนเป็นกลุ่มละ 15 คน
, ฝึกสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. พนักงานที่รับการฝึกสามารถโต้ตอบเบื้องต้นกับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
และเยอรมันได้ดีขึ้น
2. นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น และเยอรมันจะมีความประทับใจประเทศไทยมากขึ้น
เนื่องจากเห็นว่าภาษาของเขามีความสำคัญ
3. สร้างความผูกพันระหว่างสโมสร และชุมชนรวมทั้งระหว่างสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ
4. ที่ได้รับภัยพิบัติ และสมาชิกอื่นๆ
หมายเหตุ
ครูฝึกสอนภาษาเยอรมัน คือ
1. คุณ อนงค์นาฎ ภุวานนท์
2. MR.DIRK GROSMANN
โทรศัพท์ 076-388517, 06-0960414
เวลาสอน 10.30 - 12.30 น. และ 13.30 - 15.30 น.
ครูฝึกสอนภาษาญี่ปุ่น คือ
1. MS.ETSUKO
 |
|
 |
โครงการเพิ่มทักษะทางภาษา
|
หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ TSUNAMI ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ที่อยู่ติดทะเลอันดามันอันประกอบด้วยจังหวัด
ภูเก็ต , พังงา , กระบี่ , ระนอง , ตรัง และสตูล เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.
2547 ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างร้ายแรงโดยที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
คาดว่ามีผู้เสียชีวิตและสูญหายไม่ต่ำกว่า 8,000 คน และผู้บาดเจ็บมากกว่า
10,000 คน ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ( ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตของทุกประเทศที่ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ด้วยกันมากกว่า
300,000 คน ) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่กับระบบเศรษฐกิจ
สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของทุกภาคส่วน
สโมสรโรตารีทุกแห่งทุกภาคในประเทศไทย และทั่วโลก ได้แสดงความเป็นห่วง
และส่งความช่วยเหลือในรูปเงิน , สิ่งของบรรเทาทุกข์ , อาสาสมัคร มายังจังหวัดทั้งหก
ผ่านทางสโมสรโรตารีต่างๆในพื้นที่ตั้งแต่วันแรกหลังเกิดเหตุ ความช่วยเหลือมุ่งเน้นที่ผู้ประสบภัยในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยสิ้นเชิง
รวมทั้งสนับสนุนค้นหาผู้รอดชีวิต และจัดการเก็บศพผู้เสียชีวิต ในช่วงเวลานี้องค์กรรัฐ
, เอกชน , มูลนิธิ องค์กรเอกชนที่ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ต่างๆรวมทั้งอาสาสมัครประชาชน
ได้ทุ่มเทกำลังคน , กำลังเงิน และเครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเหลือ
ความช่วยเหลือที่โรตารีได้ สนับสนุนในช่วงนี้ คือ การบริจาคเครื่องอุปโภค
, บริโภค , เครื่องยังชีพ , ยารักษาโรค อาทิ น้ำดื่ม นมผง ปลากระป๋อง
นำมันพืช อุปกรณ์ทำครัว แก๊สหุงต้ม ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก กระดาษชำระ
ยารักษาโรค เป็นต้น , การรักษาพยาบาลทั้งทางกายและสุขภาพจิต, การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราวและสุดท้ายคือ
การรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนช่วยเหลือในระยะกลาง และระยะยาวต่อไป
หลังเหตุการณ์ผ่านไป 1 สัปดาห์ สโมสรโรตารีทั้งหกแห่งได้เร่งประสานความร่วมมือกับประชาชน
ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้า ที่รัฐ ในพื้นที่ สำรวจความเดือนร้อนที่แท้จริงของชุมชน
เพื่อมุ่งมั่นทำโครงการ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา สนับสนุนให้ชุมชนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเองอย่างมั่นคงสืบไป
ทั้งนี้เป็นโอกาสในการสื่อสารแนวทางการบำเพ็ญประโยชน์ของโรตารีให้แผ่ขยายกว้างไกล
ในขณะเดียวกัน การประสานงานกับหน่วยงาน หรือสโมสรโรตารีในต่างประเทศ
จะช่วยให้สโมสรได้พัฒนาบุคคลากร รวมทั้งขยายความร่วมมือ และมิตรภาพระหว่างกัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ TSUNAMI ถล่มภาคใต้ ในส่วนของชาวประมงบ้านกมลา
จังหวัดภูเก็ต ที่สูญเสียเรือประมงไปจากภัยพิบัติ โดยการต่อเรือให้ใหม่เพื่อให้กลับไปหาเลี้ยง
ชีพให้กับตนเอง และครอบครัว และใช้ชีวิตเป็นปกติสุขโดยเร็วที่สุด
2. เป็นการนำอุดมการณ์ของโรตารีที่เน้นเรื่องกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชน
แปรเปลี่ยน ให้เป็นรูปธรรม มีความชัดเจน และประสิทธิภาพ
3. ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของโรตารีให้ชุมชน และสาธารณชน และสื่อมวลชนได้รู้จัก
4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมวลมิตรชาวโรทาเรียนทั้งใน ภาค 3330
และภาคต่างๆของประเทศไทยรวมทั้งจากต่างประเทศ เพื่อบรรเทาสาธารณภัยครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
เป้าหมาย
1. ซ่อมเรือประมงหางยาว จำนวน 5 ลำ
2. ต่อเรือประมงหางยาวด้วยไม้กระดานขนาด 17,19 และ 21 กง ( ขนาดยาวสุด
9 เมตร ) รวมจำนวน 18 ลำ
3. ติดตั้งเครื่องยนต์และส่วนควบให้กับเรือทั้งหมดที่ต่อขึ้นใหม่ทั้ง
18 ลำ
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ 2 มกราคม 2548 ถึง
2 เมษายน 2548 เป็นเวลา 3 เดือน
งบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมเรือ 5 ลำๆละ 10,000 บาท
|
รวม |
50,000 บาท |
2. ค่าใช้จ่ายในการต่อเรือใหม่ |
|
|
ขนาด 17 กง |
5 ลำๆละ |
35,000 บาท |
|
175,000 บาท |
ขนาด 19 กง |
3 ลำๆละ |
50,000 บาท |
|
150,000 บาท |
ขนาด 21 กง ( 9 เมตร ) |
10 ลำๆละ |
60,000 บาท |
|
600,000 บาท |
3. ค่าเครื่องยนต์และส่วนควบ |
|
|
สำหรับเรือ 17 กง |
5 ลำๆละ |
35,000 บาท |
|
175,000 บาท |
สำหรับเรือ 19 กง |
4 ลำๆละ |
38,000 บาท |
|
152,000 บาท |
สำหรับเรือ 21 กง |
9 ลำๆละ |
40,000 บาท |
|
360,000 บาท |
4. ค่าจัดทำตราโรตารีติดข้างเรือทั้ง 2 ด้าน |
|
|
จำนวน |
18 ลำๆละ |
1,000 บาท |
|
18,000 บาท |
5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ |
|
10,000 บาท |
6. ค่าใช้จ่ายด้านเอกสารและการติดต่ออื่นๆ |
|
10,000 บาท |
7. ค่าจ้างผู้ประสานงานโครงการ 3 เดือนๆละ 15,000
บาท |
|
45,000 บาท |
|
|
|
|
|
|
รวมทั้งสิ้น 1,745,000 บาท |
|
|
( หนึ่งล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน
) |
แหล่งงบประมาณ
1. เงินบริจาคบัญชี " ศูนย์โรตารีจังหวัดภูเก็ตเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
" บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารทหารไทย สาขา ภูเก็ต หมายเลขบัญชี 344-2-49993-9
ซึ่งได้ รับบริจาคมาจากสโมสรโรตารีต่างๆใน 4 ภาค ของประเทศไทย และจากต่างประเทศ
2. งบประมาณกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของสโมสรโรตารีต่างๆในจังหวัดภูเก็ต
3. เงินบริจาคจากสโมสรโรตารีที่แสดงเจตจำนงค์เพื่อจัดซื้อเครื่องยนต์ติดตั้งให้กับเรือประมง
เป็นการเฉพาะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สโมสรโรตารีภูเก็ต , สโมสรโรตารีทุ่งคา , สโมสรโรตารีอันดามัน , สโมสรโรตารีป่าตองบีช
สโมสรโรตารีจังซีลอน , สโมสรโรตารีภูเก็ตเซ้าท์
คณะกรรมการบริหารโครงการ
ที่ปรึกษา |
อผภ.ประเสริฐ |
ฟักทองผล |
ทุ่งคา |
|
อผภ.เสริมศักดิ์ |
ปิยะธรรม |
ภูเก็ต |
ประธาน |
ผชภ.อรชร |
สายสีทอง |
ภูเก็ตเซ้าท์ |
รองประธาน |
ผชภ.สุธา |
พานิชวงศ์ |
ทุ่งคา |
เลขานุการและประชาสัมพันธ์ |
นย.นพ.สงวน |
คุณาพร |
ทุ่งคา |
เหรัญญิก |
นย.ชาญณรงค์ |
พิชาลัย |
อันดามัน |
ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร |
นย.Sam |
Fauma |
ป่าตองบีช |
ฝ่ายประสานงาน |
นย.กุลสิริ |
โพชนุกูล |
ภูเก็ต |
กรรมการกลาง |
นย.กรองทอง |
เทพศิริอำนวย |
จังซีลอน |
กรรมการกลาง |
นย.วรีรัตน์ |
พฤษกิจ |
ภูเก็ตเซ้าท์ |
ฝ่ายตรวจสอบบัญชี |
สำนักงาน ส.ธุรกิจการบัญชี |
|
ฝ่ายควบคุมการต่อเรือ |
อน.ประจวบ |
ไมพานิช |
ภูเก็ต |
|
รทร.ทพ.ประวิทย์ |
วีรสัตยานนท์ |
ทุ่งคา |
|
รทร.ธนิต |
ตันติวิท |
ภูเก็ต |
|
รทร.บุญฤทธิ์ |
ตันสกุล |
ภูเก็ต |
การดำเนินโครงการ
1. สำรวจความต้องการของชุมชนหลังเกิดเหตุพิบัติภัยคลื่นยักษ์ TSUNAMI
ถล่มภาคใต้ หลังผ่าน ช่วงบรรเทาสาธารณภัยระยะฉุกเฉิน เพื่อหาทางฟื้นฟูอาชีพของผู้ประสบภัยให้เร็วที่สุด
คณะกรรมการได้พบว่าชาวเรือประมงบ้านกมลาสูญเสียเรือหางยาวที่ใช้ประกอบอาชีพ
และไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าทางราชการจะให้ความช่วยเหลือแน่นอนหรือไม่
และเมื่อไหร่ ดังนั้นคณะกรรมการจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะสนับสนุนการต่อเรือหางยาว
จำนวน 18 ลำ ทดแทนให้กับชาวประมงที่สูญเสียโดยใช้งบประมาณที่ได้จากการบริจาคของสโมสรโรตารีภาคต่างๆในประเทศไทย
และจากต่างประเทศ
หมายเหตุ แต่งบประมาณดังกล่าวจะมีเพียงพอแค่การต่อเรือใหม่ยังไม่เพียงพอที่จะใช้จัดหาเครื่องยนต์
2. จัดประชุมแนวร่วมเพื่อดำเนินโครงการประกอบด้วย ตัวแทนของคณะกรรมการบริหารโครงการ
ชาวเรือบ้านกมลา , สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด , ตัวแทนพัฒนาการจังหวัด
และผู้ประ สานโครงการ เพื่อวางกรอบการทำงานร่วมกัน
หมายเหตุ ชาวเรือประมงบ้านกมลายินดีที่จะให้คณะกรรมการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการนี้โดยโรตารี
ณ บริเวณชายหาดกมลาที่เป็นที่ต่อเรือประมง รวมทั้งจะตั้งชื่อเรือประมงทุกลำว่า
“ โรตารี 1,2,3…….จนถึง 18 ”
3. จัดหาผู้เชี่ยวชาญในการต่อเรือประมงมาเพื่อเริ่มงานและสอนวิธีการต่อเรือให้กับชาวประมง
ทุกคน ทั้งนี้หวังว่าจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ และสร้างทักษะในการต่อเรือ
ซ่อมเรือ อันจะนำ ไปสู่การต่อเรือเองได้ในอนาคต
4. จัดหาวัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ในการต่อเรือ โดยประสานกับโรทาเรียนผู้เป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยว
ข้อง ทำให้สามารถจัดหาของได้ในราคาประหยัด
5. กำกับการต่อเรือเพื่อให้เสร็จตามกำหนด และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
6. เตรียมการปล่อยเรือลงน้ำตามธรรมเนียมของชาวเรือ และส่งมอบ หลังจากเรือลำสุดท้ายเสร็จเรียบร้อย
7. จัดการแถลงข่าวและประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชน, ชุมชน และผู้บริจาคได้ทราบถึงโครงการ
ภาคผนวก
รูปภาพแสดงธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์ Tsunami ถล่มภาคใต้ และ ความคืบหน้าของโครงการ
พร้อมเอกสารประกอบการดำเนินการของชาวเรือประมงบ้านกมลา
ที่อยู่สำหรับติดต่อคณะกรรมการ
1. อผภ.ประเสริฐ ฟักทองผล
บริษัท ฟักทองขนส่ง จำกัด, 115 หมู่ 5 ถ.ท่าเรือ-ป่าคลอก ต.ศรีสุนทร
อ.เมือง
จ.ภูเก็ต โทร. 076 273 359 , 076 273 389 โทรสาร 076 273 315
Email prasert@tongkah.org
2. อผภ.เสริมศักดิ์ ปิยธรรม
ภูเก็ตทนายความ 61/3 ถ.เทพกระษัตรี อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 076-213319 โทรสาร 076 219 499
Email serm_piyatham@hotmail.com
3. ผชภ.อรชร สายสีทอง
95/4 ถ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร. 076-218417 , 01-8922527
โทรสาร 076-216979
E-mail. orachorn@seatoursthai.com
4. ผชภ.สุธา พานิชวงศ์
บ.โรงน้ำแข็งท้ายเหมือง จก. 15/2 ม.4 ถ.เพชรเกษม ต.ท้ายเหมือง
อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา 82120 โทร. 076-571243 โทรสาร 076-571205
Email sutha119@yahoo.com
5. นย.นพ.สงวน คุณาพร
371/81 ถ.เยาวราช ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 076 254 764 , 076 221 631, 01 891 7300 โทรสาร 076-254 765
E-mail . sanguan@phuket.ksc.co.th kunaporn@phuket.ksc.co.th
6. นย.ชาญณรงค์ พิชาลัย
76/3 ถ.ระนอง ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 01 476 8131 , 076 212 123
โทรสาร 076-213 487
7. นย.Friedrich Sam Fauma
17/6 ถ.เจ้าฟ้า ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 Tel 01 8915371
โทร. 076 222 191-5 โทรสาร 076 222 196
Email ffauma@loxinfo.co.th
8. นย.กุลสิริ โพชนุกูล
ร้านจิ้นฮวด 59/16-17 ถ.บางกอก อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 076 211 097-8 โทรสาร 076 211 097
Email gchuat@loxinfo.co.th
9. นย.กรองทอง เทพศิริอำนวย
หจก.มุกเกาะแก้ว 41/6-7 ถ.วิชิตสงคราม ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต
83000
โทร. 01 693 5133 โทรสาร 076 213 940
10. นย.วรีรัตน์ พฤกษกิจ
1/20 ถ.เทพกระษัตรี ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 076-212371 , 076-216460 , 01-8928374 โทรสาร 076-219763
Email vpruksakit@yahoo.com
11. อชภ. ชัยศักดิ์ โกยสมบูรณ์
บริษัท Express Data จำกัด 73/2 ถ.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทร. 076 214 496-7 , 01 691 0691 โทรสาร 076 215 933
Email chaisak@phuket.ksc.co.th
12. P.E. Arnaud C.M.C. Verstraete
โทร. 076 258 175, 01 891 4539
Email president-elect@rotarypatong.org
13. อน. ประจวบ ไมพานิช
63/1 หมู่ 2 ต. ป่าคลอก อ. ถลาง จ. ภูเก็ต
โทร. 076 272 559
14. รทร. ทพ. ประวิทย์ วีรสัตยานนท์
ศูนย์ทันตกรรมเอเชีย 95/3 ถ. ภูเก็ต อ. เมือง จ. ภูเก็ต
โทร. 076 210 191 , 01 370 7012
15. รทร.ธนิต ตันติวิท
84 ถ.วิชิตสงคราม อ. เมือง จ. ภูเก็ต 83000
โทร. 076 211 449
16. รทร. บุญฤทธิ์ ตันสกุล
367/34 ถ. เยาวราช อ. เมือง จ. ภูเก็ต
โทร. 076 219 049 076 221 749
For Group Email Sending
chaisak@phuket.ksc.co.th,
gchuat@loxinfo.co.th, ffauma@loxinfo.co.th, sanguan@phuket.ksc.co.th,
sutha119@yahoo.com, orachorn@seatoursthai.com, serm_piyatham@hotmail.com,
prasert@tongkah.org, president-elect@rotarypatong.org vpruksakit@yahoo.com
|
|