คณะกรรมการบริหารเงินบริจาค

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้โดยสโมสรโรตารี 6 แห่งของจังหวัดภูเก็ต

หลักการและเหตุผล

 จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์  TSUNAMI  ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ที่อยู่ติดทะเลอันดามัน
อันประกอบด้วยจังหวัด  ภูเก็ต , พังงา , กระบี่ , ระนอง , ตรัง และสตูล   เมื่อวันที่  26  ธ.ค.
2547  ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างร้ายแรง โดยที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน  คาดว่ามีผู้เสียชีวิตและสูญหายไม่ต่ำกว่า  8,000 คน และผู้บาดเจ็บ

มากกว่า  10,000  คน
ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท  ( ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตของทุกประเทศที่ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ด้วยกันมากกว่า  150,000 คน )

 สโมสรโรตารีทุกแห่งทุกภาคในประเทศไทย และทั่วโลกได้แสดงความเป็นห่วงและเริ่มส่งความช่วยเหลือในรูปเงิน , สิ่งของบรรเทาทุกข์ , อาสาสมัคร 

มายังจังหวัดทั้งหก  ผ่านทางสโมสรโรตารีต่างๆในพื้นที่ตั้งแต่วันแรกหลังเกิดเหตุ

 อดีตผู้ว่าการภาค 3330 ทั้งสองท่านจากสโมสรโรตารีภูเก็ตและทุ่งคา และผู้ช่วยผู้ว่าการภาค 3330  พื้นที่ 6 และ 7 จึงได้ริเริ่มเปิดบัญชีธนาคาร

ตั้งแต่วันที่  27 ธ.ค. 2547 เพื่อเป็นช่องทางให้สมาชิกสโมสร และภาคต่างๆทั้งในประเทศและนอกประเทศ  ส่งเงินบริจาค
เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัย

 ดังนั้นเพื่อให้การจัดการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินบริจาค และความช่วยเหลือรูปแบบอื่นมีประสิทธิภาพ , โปร่งใส , สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ

โรตารี  เกิดประโยชน์เต็มที่และเข้าถึงผู้ประสบภัยพิบัติจริง  จึงได้เกิดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้  โดยสโมสรโรตารี  6 แห่งของจังหวัด

ภูเก็ต

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สโมสรโรตารีภูเก็ต , สโมสรโรตารีทุ่งคา , สโมสรโรตารีอันดามัน                       สโมสรโรตารีป่าตองบีช , สโมสรโรตารีจังซีลอน , สโมสรโรตารีภูเก็ตเซ้าท์

คณะกรรมการบริหารโครงการ

 ที่ปรึกษา   อผภ.ประเสริฐ  ฟักทองผล ทุ่งคา
     อผภ.เสริมศักดิ์  ปิยะธรรม ภูเก็ต
 ประธาน   ผชภ.อรชร  สายสีทอง ภูเก็ตเซ้าท์
 รองประธาน   ผชภ.สุธา  พานิชวงศ์ ทุ่งคา
 เลขานุการและประชาสัมพันธ์  นย.นพ.สงวน  คุณาพร ทุ่งคา
 เหรัญญิก   นย.ชาญณรงค์  พิชาลัย  อันดามัน
 ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร  นย.SAM  FAUMA ป่าตองบีช
 ฝ่ายประสานงาน  นย.กุลสิริ  โพชนุกูล ภูเก็ต
 กรรมการกลาง   นย.กรองทอง  เทพศิริอำนวย  จังซีลอน
 กรรมการกลาง   นย.วรีรัตน์  พฤษกิจ ภูเก็ตเซ้าท์
 ฝ่ายตรวจสอบบัญชี  สำนักงาน  ส.ธุรกิจการบัญชี

กรอบความช่วยเหลือและระยะเวลาดำเนินโครงการ

1. ระยะฉุกเฉิน  ( ระยะตั้งแต่เกิดเหตุจนถึง 1 เดือนหลังเกิดภัยพิบัติ )

ความช่วยเหลือมุ่งเน้นที่ผู้ประสบภัยในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดย
สิ้นเชิง  รวมทั้งสนับสนุนค้นหาผู้รอดชีวิต และจัดการเก็บศพผู้เสียชีวิต  ในช่วงเวลานี้องค์กรรัฐ , เอกชน , มูลนิธิ   องค์กรเอกชนที่ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ

รวมทั้งอาสาสมัครประชาชน  ได้ทุ่มเทกำลังคน , กำลังเงิน และเครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเหลือ โดยยังขาดการวางแผน  ประสานงาน หรือจัดการดีพอ  ทำให้เกิดภาวะ

ส่งของบริจาคหลายประเภทล้นเกินความต้องการ หรือการส่งสิ่งของไปไม่ถึงผู้ประสบภัยบางกลุ่ม

 ความช่วยเหลือที่โรตารีสามารถกระทำได้ หรือสนับสนุนในช่วงนี้ ( ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วหลายประการ ) คือ

1.1 การบริจาคเครื่องอุปโภค , บริโภค , เครื่องยังชีพ , ยารักษาโรค
1.2 การรักษาพยาบาลทั้งทางกายและสุขภาพจิต

1.3 การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว
1.4 การรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนช่วยเหลือในระยะกลาง และระยะยาวต่อไป

2. ระยะกลาง  ( ระยะ 1-6 เดือนหลังเกิดภัยพิบัติ )

ความช่วยเหลือจากหน่วยงานและองค์กรทั้งหลายจะเริ่มลดความเข้มข้นลง  เนื่อง
จากสื่อมวลชนต่างๆจะละความสนใจในเรื่องภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ลง แต่จะหันไปสนใจประเด็นการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งใหญ่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์แทน  แต่

แผนการช่วย
เหลือ และฟื้นฟูผู้ประสบภัยรวมทั้งทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้างต่างๆจะชัดเจนและรัดกุมขึ้น มีผู้รับผิดชอบ และการประสานงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น

 บทบาทของโรตารีในการให้ความช่วยเหลือระยะกลางมี  ดังนี้

2.1 การจัดหาแหล่งน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค และบริโภค
2.2 การฟื้นฟูอาชีพ โดย สนับสนุนเครื่องมือสำหรับประกอบอาชีพ อาทิ เครื่องยนต์
ขนาดเล็กสำหรับเรือประมง , อุปกรณ์จับปลาชายฝั่งขนาดเล็ก , อุปกรณ์พิมพ์ผ้าบาติก  เป็นต้น
2.3 การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
2.4 การฟื้นฟูผู้พิการจากภัยพิบัติให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคม   อาทิ  การบริจาคขาเทียม , เก้าอี้คนพิการ
2.5 การให้การอุปการะเด็กกำพร้า
2.6 การจัดการที่อยู่อาศัยถาวรใหม่ให้กับผู้ประสบภัยตามแนวทางของรัฐ ซึ่งมีประมาณการงบประมาณ  100,000  บาท ต่อบ้าน 1 หลัง
2.7 การฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  อาทิ  ชายหาด , แหล่งปะการัง , ป่าชายเลน  ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์
2.8 การให้ความรู้ถึงภัยธรรมชาติที่จะมีผลต่อความเป็นอยู่ของผู้ที่อาศัยอยู่เมืองชายทะเล , การเฝ้าระวัง , การเตือนภัย , การเอาตัวรอดหากเกิดภัยพิบัติ

3. ระยะยาว  ( ระยะ 6 เดือน – 2 ปี  หลังเกิดภัยพิบัติ )

ในระยะนี้จะเป็นการพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของหน่วยงาน และองค์กรที่ยังคงให้
ความสำคัญกับผลพวงที่เกิดตามมากับภัยพิบัติต่อครอบครัวของผู้ประสบภัย

 โครงการที่โรตารีจะเข้ามารับผิดชอบมี  ดังนี้

3.1 การให้ทุนการศึกษากับเยาวชน
3.2 การจัดสร้างห้องสมุด และจัดหาหนังสือรวมทั้งคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สารสนเทศ
3.3 การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อระลึกถึงโศกนาฎกรรมจากภัยธรรมชาติ อันเป็นเครื่องเตือนสติ และให้ความรู้กับประชาชน

พื้นที่เป้าหมายสำหรับโครงการ

1. บ้านกมลา  จ.ภูเก็ต
2. หาดป่าตอง  จ.ภูเก็ต
3. บ้านเขาหลักและหมู่บ้านข้างเคียง ( บางเนียง , คึกคัก , บางสัก )
4. เกาะพีพี  จ.กระบี่
5. บ้านสุขสำราญ  จ.ระนอง

งบประมาณและช่องทางในการรับความช่วยเหลือ

 1.   เงินบริจาค
1.1 สมาชิก , สโมสร ภาคต่างๆของโรตารี และผู้มีจิตศรัทธาในประเทศไทย
บริจาคมายัง  บัญชี “ ศูนย์โรตารีจังหวัดภูเก็ตเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ “  บัญชีออมทรัพย์  ธนาคารทหารไทย  สาขา ภูเก็ต
หมายเลขบัญชี   344-2-49993-9
1.2 สมาชิก , สโมสร ภาคต่างๆของโรตารีและผู้มีจิตศรัทธาที่อยู่นอกประเทศไทย
สามารถโอนเงินเข้ามายังบัญชี

“ ROTARY  CENTER  FOR  SOUTHERN  THAILAND  DISASTER  RELIEF  “   SAVING  ACCOUNT ,

THAI MILITARY  BANK , PHUKET
BRANCH , ACCOUNT  NUMBER  344-2-49993-9
ADDRESS  THAI MILITARY  BANK , PHUKET  BRANCH , ROAD
   PHUKET , THAILAND , TEL  +   66 76
                                         FAX  +  66 76
SWIFT  CODE   TMB  KTH  BK
1.3 สามารถบริจาคผ่านไปยังบัญชีของสโมสรโรตารีทั้ง 6 แห่งในจังหวัดภูเก็ต หรือ
บริจาคโดยตรงต่อนายกสโมสรทั้ง 6 สโมสร
2. การบริจาคสิ่งของต่างๆ
สามารถส่งของมายัง  อผภ.ประเสริฐ  ฟักทองผล
บจก.ภูเก็ตลำเลียง  54/1  ม.2 ถ.เทพกระษัตรี  ต.เกาะแก้ว  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต              
3. อาสาสมัครโรตารี
4. การจัดทำโครงการ  MATCHING  GRANT
5. การจัดทำโครงการ  WCS

ที่อยู่สำหรับติดต่อคณะกรรมการ

 1.  อผภ.ประเสริฐ ฟักทองผล
       บจก.ภูเก็ตลำเลียง  54/1  ม.2  ถ.เทพกระษัตรี  ต.เกาะแก้ว  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต
       83000   โทร. 076-238828   แฟกซ์. 076-238937 , 076-238831

 2.  อผภ.เสริมศักดิ์ ปิยะธรรม
      ภูเก็ตทนายความ  61/3  ถ.เทพกระษัตรี  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83  
      โทร.  076-213319

 3.  ผชภ.อรชร  สายสีทอง
      95/4  ถ.ภูเก็ต  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83000  โทร. 076-218417 , 01-8922527
      แฟกซ์.076-216979      E-mail. 
[email protected]

 4.  ผชภ.สุธา  พานิชวงศ์
      บ.โรงน้ำแข็งท้ายเหมือง จก.  15/2  ม.4  ถ.เพชรเกษม  ต.ท้ายเหมือง
      อ.ท้ายเหมือง  จ.พังงา  82120  โทร. 076-571243   แฟกซ์. 076-571205

 5.  นย.นพ.สงวน คุณาพร
      371/81 ถ.เยาวราช  ต.ตลาดใหญ่  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83000
      โทร. 076-254764 , 221631  แฟกซ์. 076-254765
      E-mail .
[email protected]

 6.  นย.ชาญณรงค์ พิชาลัย
      76/3  ถ.ระนอง  ต.ตลาดเหนือ  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83000
      โทร. 01-4768131 , 076-212123   แฟกซ์. 076-213487

 7.  นย.SAM  FAUMA

 8.  นย.กุลสิริ  โพชนุกูล
      ร้านจิ้นฮวด  59/16-17  ถ.บางกอก  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83000
      โทร. 076-211097-8  แฟกซ์. 076-211097

 9.  นย.กรองทอง เทพศิริอำนวย
      หจก.มุกเกาะแก้ว  41/6-7  ถ.วิชิตสงคราม  ต.วิชิต  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83000
      โทร. 01-6935133   แฟกซ์. 076-213940

 10. นย.วรีรัตน์  พฤษกิจ
       1/20  ถ.เทพกระษัตรี  ต.รัษฎา  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  83000
       โทร. 076-212371 , 076-216460 , 01-8928374   แฟกซ์. 076-219763

^ return to TOP PAGE
 
 
 
Copyright 2004. Rotary Club of Tongkah. All rights reserved. Designed by Express Data | Search Phuket
District Governor (1995-1996), D-3330 R.I.